วันอาทิตย์ที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2552
ประเพณีบวชช้างหาดเสี้ยว
ชาวไทยพวน ที่บ้านหาดเสี้ยว อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัยนั้น พวกเขาเลือกที่จะคารวะช้างด้วยการจัดประเพณี"บวชช้าง" หรือ"งานบวชพระแห่นาค" ด้วยช้างขึ้นในทุกๆปีประเพณีไทยพวน ไทยพวนบ้านหาดเสี้ยว เป็นชุมชนในหมู่บ้านหาดเสี้ยว อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย มีเนื้อที่ประมาณ 8,932 ไร่ หรือประมาณ 143 ตารางกิโลเมตร อาณาเขตติดต่อกับชุมชนอื่นโดยรอบ คือ
ทิศเหนือ จดตำบลป่างิ้ว อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย
ทิศใต้ จดตำบลหนองอ้อ อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย
ทิศตะวันออก จดตำบลดงคู่ อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย
ทิศตะวันตก จดตำบลหนองอ้อ อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย
ความหมายของคำว่าหาดเสี้ยว เป็นการเรียกขานตามสภาพภูมิศาสตร์ ที่หมู่บ้านนี้ มีแม่น้ำยมไหลผ่านหาดกลางน้ำ ขนาดใหญ่ อันเป็นเหตุให้แยกลำน้ำออก เป็นสองสาย แล้วไหลบรรจบกัน ที่ปลายเสี้ยวของหาดทางทิศใต้ ประกอบกับที่กลางหาดมีต้นกาหลง หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า ต้นส้มเสี้ยว จึงนำเอาคำว่าหาด กับคำว่าเสี้ยว มาประสมกัน อีกความหมายหนึ่ง เล่ากันว่า แต่ก่อนหมู่บ้านนี้ไม่มีชื่อ จวบจนธิดาสาวเจ้าเมืองเชียงราย ได้เสด็จทางชลมารคลงเรือมาด ที่เมืองแพร่ ล่องมาตามลำน้ำยมเพื่อจะไปเยี่ยมพระสหาย ซึ่งเป็นพระธิดาเจ้าเมืองตาก บังเอิญเรือรั่วขณะผ่านมาทางย่านนี้ จึงแวะจอดซ่อมเรือ ถามคนแถวนี้ถึงชื่อบ้าน ไม่มีใครตอบได้ บังเอิญได้พบหัวหน้าหมู่บ้าน ที่มาช่วยเหลือ จึงได้ชี้แนะให้ เรียกบ้านหาดเชี่ยว ตามความไหลเชี่ยว ของน้ำยม ที่ไหลผ่านช่วงนั้น หัวหน้าหมู่บ้านได้ขยายความข้อนี้ จนกลายเป็น ชื่อเรียกติดปาก ตั้งแต่นั้นมา
จนกระทั่งเมื่อสมเด็จกรมพระยาวชิรญาณวโรรส พระสังฆราชเสด็จหมู่บ้านนี้ เมื่อปี พ.ศ. 2460 ได้ทรงโปรดให้ เปลี่ยนชื่อบ้านจาก หาดเชี่ยว เป็น หาดเสี้ยว และวัดประจำหมู่บ้าน ที่ชื่อวัดโพธิ์ไทร ก็ให้เรียกเป็น วัดหาดเสี้ยว เช่นเดียวกัน ชุมชนหาดเสี้ยว สุโขทัย มีบรรพบุรุษเป็นชาวไทยพวน ที่อพยพมาจาก เมืองพวน แขวงเมืองเชียงขวาง ในประเทศลาว เมื่อรัชกาลที่ 3 ประมาณ ปี พ.ศ. 2387 เป็นหนึ่งในจำนวนไทยพวน ที่อยู่ในประเทศไทย จำนวน 23 จังหวัด ชุมชนหาดเสี้ยว มี 5 เครือข่าย คือ บ้านหาดเสี้ยว บ้านหาดสูง บ้านใหม่ บ้านป่าไผ่ และบ้านแม่ราก
การอพยพ ของบรรพบุรุษพวน บ้านหาดเสี้ยวครั้งนั้น กล่าวกันว่ามีทั้งฝ่ายฆารวาส และฝ่ายสงฆ์ ฝ่ายฆารวาสมีพี่น้องสามแสน คือ แสนจันทร์ แสนปัญญา และ แสนพล เป็นหัวหน้า ฝ่ายสงฆ์มี เจ้าหัวอ้าย สมเด็จวัดบ้านตาดเป็นหัวหน้า คาดว่าเดินทางเข้าประเทศไทยทางจังหวัดน่าน ผ่านจังหวัดแพร่ อุตรดิตถ์ มุ่งสู่เมืองสวรรคโลก เลือกภูมิประเทศ บริเวณบ้านหาดเสี้ยว ลุ่มน้ำยมปลูกสร้างบ้านเรือน สร้างวัด และหาที่ดิน ประกอบอาชีพกสิกรรม ตอนนั้นเจ้าเมืองสวรรคโลก ได้แต่งตั้งแสนจันทร์เป็นผู้ปกครอ งดูแลราษฎรในท้องที่ เก็บภาษีอากร นำส่งรัฐบาลถึงกรุงเทพฯ ใช้เวลาเดินทางทางน้ำ ไปและกลับ เป็นเวลาเดือนเศษ เมื่อแสนจันทร์ถึงแก่กรรม เจ้าเมืองสวรรคโลก ได้แต่งตั้งบุตรชายคนโตของท่าน ชื่อทอง รับบรรดาศักดิ์เป็นหลวงศรีพิทักษ์ ปกครองต่อ จนเป็นต้นสายพันธุ์ สกุลหาดเสี้ยวในปัจจุบัน วิถีชีวิตไทยพวนหาดเสี้ยว ชาวไทยพวน อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย มีอาชีพ ทำนา ทำไร่ ทำสวน เลี้ยงหมู เลี้ยงเป็ด เลี้ยงไก่ เวลาว่างจากการทำนา หญิงทอผ้า ชายตีเหล็ก ผู้เป็นช่างเงิน ช่างทอง ก็ทำเครื่องเงินเครื่องทอง
ที่มา http://www.sisatchanalai.com/webboard/index.php?action=printpage;topic=96.0
ประเพณีบวชช้างหาดเสี้ยว๗ เมษายน ๒๕๕๒
วัดหาดเสี้ยว จ. สุโขทัย ประจำปี ๒๕๕๒
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานสุโขทัย ขอเชิญร่วมงานบุญอุปสมบทในงาน ประเพณีบวชช้างหาดเสี้ยว ประจำปี ๒๕๕๒ ณ วัดหาดเสี้ยว อ. ศรีสัชนาลัย จ. สุโขทัย ในวันที่ ๗ เมษายน ๒๕๕๒
งานประเพณีบวชช้างหาดเสี้ยว เป็นประเพณีของชาวบ้านไทยพวนหาดเสี้ยว ที่อพยพมาจากเมืองเชียงขวางของเมืองเวียงจันทน์ ประเทศลาว และยังคงมีการสืบทอดขนบธรรมเนียมประเพณีมากกว่า ๑๕๐ ปี ชาวหาดเสี้ยวมีความเชื่อเกี่ยวกับพุทธศาสนา คำสั่งสอนของพระพุทธองค์ที่มุ่งให้ผู้บวชถือปฏิบัติตนเพื่อไปสู่โลกอุดร หรือโลกุตรธรรม คือ ธรรมอันพ้นจากวิสัยของโลก ได้แก่ พระนิพพาน จึงมีประเพณีบวชนาคด้วยช้างหาดเสี้ยวขึ้น ในทุกวันที่ ๗ เมษายนของทุกปี และจะนำช้างร่วมขบวนแห่ด้วยเพราะมีความเชื่อจากเรื่องพระเวสสันดรทรงช้างปัจจัยนาเคนทร์ช้างคู่บารมี และยังมีความเชื่อในเรื่องของการดลบันดาลให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล พืชพันธ์ธัญญาหารสมบูรณ์
ขบวนแห่ช้างในปีนี้มีผู้อุปสมบทและช้างเข้าร่วมขบวนแห่มากกว่า ๒๐ เชือก ผู้ที่เข้ามาร่วมงานจะแต่งกายพื้นเมืองที่สวยงามและมารวมกันที่วัดหาดเสี้ยวเพื่อทำพิธี หลังจากนั้นขบวนแห่จะเคลื่อนจากออกวัดหาดเสี้ยว แห่ไปรอบหมู่บ้าน ผ่านแม่น้ำยม ก่อนแยกย้ายกันกลับบ้าน
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เทศบาลตำบลหาดเสี้ยว โทร. ๐-๕๕๖๗-๑๑๒๒การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานสุโขทัย โทร. ๐-๕๕๖๑-๖๒๒๘-๙
ที่มา www.nairobroo.com/76/modules.php?name=News&file=article&sid=1391 - 26k -
ประเพณีแห่ช้างบวชนาค
ชาวตำบลหาดเสี้ยวที่นับถือศาสนาพุทธ มีความเชื่อในเรื่อง อานิสงค์ของการบวช ทั้งการบวชพระ และบวชเณร ดังนั้นครอบครัว ที่มีบุตรหลานเป็นชาย เมื่ออายุครบบวช ก็จะจัดการทำพิธีบวชให้
ผู้บวชที่จะบวชพระได้ ต้องมีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ส่วนเด็กที่จะบวชเณรนั้น บวชได้ตั้งแต่อายุ 10 ปีขึ้นไป ผู้ชายหาดเสี้ยวคนใด ที่มีเหตุจำเป็น ไม่ได้บวชเมื่ออายุครบ หรือแต่งงานก่อนบวช พ่อแม่ก็ต้องพยายามหาโอกาส ให้บวชให้ได้ ในภายหลัง แต่เดิม จะนิยมจัดงานในวันแรม 3 ค่ำ เดือน 4 และบวชในวันแรม 4 ค่ำ เดือน 4
การบวชในปัจจุบัน มีรูปแบบการจัด 2 แบบ คือ
งานบวชธรรมดา ไม่จัดพิธีเอิกเกริก ส่วนใหญ่จะเป็นการบวชพระ ในช่วงก่อนเทศกาลเข้าพรรษา โดยการบอกกล่าว ญาติใกล้ชิด มาร่วมในการทำขวัญ และนำนาคไปวัด เพื่อทำพิธีบวช การบวชแบบนี้ มักจะบวชจนครบพรรษา
บวชหมู่ นิยมบวชกันในเดือนสี่ (ประมาณเดือนเมษายน) ซึ่งเป็นช่วงที่มีวันหยุดหลายวัน ระยะเวลาในการบวชจะมีตั้งแต่ 7 – 15 วัน จนถึงหนึ่งเดือน การบวชในลักษณะนี้ ถือเป็นงานประเพณีประจำปี ของท้องถิ่น นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524 เป็นต้นมา มีการกำหนดเวลาที่แน่นอน ในการจัด โดยถือเอาวันที่ 7 เมษายน ของทุกปีเป็นวันงาน และชาวบ้านเรียกว่า “งานแห่ช้างบวชนาค”
ก่อนวันบวช จะมีกลุ่มผู้หญิงกลุ่มหนึ่ง เป็นตัวแทนของแต่ละเจ้าภาพ ที่จัดงานบวช เดินไปบอกบุญ ตามบ้านใกล้เรือนเคียง เพื่อให้ไปร่วมงานกัน เรียกว่า “เถี่ยวบ๊าน”
งานบวชนี้ จะจัดงานรวมทั้งสิ้น 3 วัน คือ วันสุกดิบ เป็นวันเตรียมตัวของผู้บวช และเจ้าภาพ ในการจัดเตรียม ในเรื่องอาหารไว้เลี้ยงแขก ที่เชิญมาร่วมงาน รวมทั้งอุปกรณ์เครื่องอัฐบริขาร ซึ่งเรียกว่า “เครื่องกองบวช”
วันที่สอง เป็นวันแห่นาค ในวันนี้จะทำพิธี โกนผมนาค อาบน้ำ แต่งตัวนาคจะสวมเสื้อสีสด บางคนใส่เสื้อกำมะหยี่สีเหลือง ที่สาบเสื้อ และปลายแขนประดับด้วยตีนจก นุ่งโจงกระเบนหลากสี เช่น สีเขียว แดง ม่วง ตกแต่งด้วยเครื่องประดับ เช่น สร้อยคอทองคำ เข็มขัดนาค แหวน สวมเทริดที่ตกแต่งด้วยดอกไม้ไว้เหนือศีรษะ แต่งหน้าด้วยเครื่องสำอาง และสวมแว่นตาดำ
ส่วนช้างที่นำมาร่วมขบวน เป็นพาหนะของนาค ก็จะถูกนำไปอาบน้ำที่แม่น้ำยม ตกแต่งด้วยผ้าลาดช้าง และผ้าคลุมหัวช้าง ที่ตกแต่งด้วยผ้าที่จก เป็นลวดลาย บนคอช้าง วางพาดด้วยฝ้ายใจขนาดใหญ่ สีขาว ซึ่งผ้าต่างๆเหล่านี้ ในสมัยก่อน จะทอกันเอง เตรียมไว้แต่เนิ่นๆ
การแห่นาคด้วยขบวนช้างนั้น จะจัดขึ้นในตอนบ่าย โดยที่นาคทุกคน จะมารวมตัวกัน ที่วัดหาดเสี้ยว ก่อนที่จะตั้งขบวนแห่ ไปตามถนนใตลาด และอ้อมผ่านถนนนอกชุมชน แล้วจึงย้ายไปตามบ้านของตน ในตอนค่ำจึงมีพิธีทำขวัญนาค
ตลอดงาน และในขบวนแห่ จะมีแตรวง หรือกลองยาวมาประโคมเฉลิมฉลอง รวมทั้งมีการเต้นรำ อย่างสนุกสนาน โดยแขกที่มาร่วมงานแต่ละบ้าน ซึ่งแต่เดิมในขบวนแห่ จะมีแต่ปี่แต๊ หรือปี่ชวา และกลองรำมะนาเท่านั้น ในตอนกลางคืน ของวันสุกดิบและวันแห่นาค มักจะมีการจ้างมหรสพ มาแสดงฉลองนาคที่บ้าน ของแต่ละคนด้วย
ในวันที่สาม ซึ่งเป็นวันบวชนั้น จะจัดพิธีธรรมดาเป็นการพานาคเดินไปวัดเพื่อทำพิธีขอบวชนาคเช่นเดียวกับการบวชทั่วไป เมื่อขอบวชเรียบร้อยแล้ว ก็ถือเป็นการเสร็จพิธี หลังจากบวชแล้วจะมีคำเรียกผู้ที่บวชเป็นพระว่า “เจ้าหัว”หรือ “หม่อม” เมื่อสึกออกไปแล้ว จะมีคำนำหน้าชื่อว่า “อ้ายทิด” ส่วนสามเณรนั้น จะมีคำนำหน้าเรียกว่า “จั่วอ๊าย” และเมื่อสึกออกไปแล้ว จะมีคำนำหน้าชื่อว่า “เซียง”
ปัจจุบัน ประเพณีนี้ได้กลายเป็น ประเพณีประจำปี ของอำเภอศรีสัชนาลัย ทางราชการ ได้เข้ามามีส่วนร่วม ในการให้การสนับสนุน ด้านงบประมาณจัดงาน ในแต่ละปี เฉลี่ยให้แก่บ้านที่จะจัดงานบวช รายละเท่าๆกัน เริ่มตั้งแต่ ประมาณปี 2529 เป็นต้นมา เป็นโยบาย เพื่ออนุรักษ์ประเพณีพื้นบ้าน และส่งเสริมการท่องเที่ยว ของจังหวัดสุโขทัย
งานบวช จึงเป็นงานประเพณีงานหนึ่ง ที่มีผ้าชนิดต่างๆจำนวนมาก เช่นผ้าโจงกระเบน ผ้าห่อคัมภีร์ ผ้ากราบ ผ้ากั้ง ซึ่งผ้าเหล่านี้ แม่ของผู้บวช หรือคู่รัก จะเป็นผู้ทอเตรียมไว้ก่อน นอกจากนั้น ช้างที่ร่วมขบวน ก็ได้รับการประดับตกแต่ง ด้วยผ้าชนิดต่างๆ และสิ่งสำคัญก็คือ ฝ้ายใจขนาดใหญ่ สีขาว สีแดง ที่แสดงให้เห็นถึง ความสำคัญของฝ้าย ในชุมชน ตำบลหาดเสี้ยว ได้เป็นอย่างดี
ที่มา http://www.suntreethai.com/learning_tradition.php
ทิศเหนือ จดตำบลป่างิ้ว อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย
ทิศใต้ จดตำบลหนองอ้อ อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย
ทิศตะวันออก จดตำบลดงคู่ อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย
ทิศตะวันตก จดตำบลหนองอ้อ อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย
ความหมายของคำว่าหาดเสี้ยว เป็นการเรียกขานตามสภาพภูมิศาสตร์ ที่หมู่บ้านนี้ มีแม่น้ำยมไหลผ่านหาดกลางน้ำ ขนาดใหญ่ อันเป็นเหตุให้แยกลำน้ำออก เป็นสองสาย แล้วไหลบรรจบกัน ที่ปลายเสี้ยวของหาดทางทิศใต้ ประกอบกับที่กลางหาดมีต้นกาหลง หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า ต้นส้มเสี้ยว จึงนำเอาคำว่าหาด กับคำว่าเสี้ยว มาประสมกัน อีกความหมายหนึ่ง เล่ากันว่า แต่ก่อนหมู่บ้านนี้ไม่มีชื่อ จวบจนธิดาสาวเจ้าเมืองเชียงราย ได้เสด็จทางชลมารคลงเรือมาด ที่เมืองแพร่ ล่องมาตามลำน้ำยมเพื่อจะไปเยี่ยมพระสหาย ซึ่งเป็นพระธิดาเจ้าเมืองตาก บังเอิญเรือรั่วขณะผ่านมาทางย่านนี้ จึงแวะจอดซ่อมเรือ ถามคนแถวนี้ถึงชื่อบ้าน ไม่มีใครตอบได้ บังเอิญได้พบหัวหน้าหมู่บ้าน ที่มาช่วยเหลือ จึงได้ชี้แนะให้ เรียกบ้านหาดเชี่ยว ตามความไหลเชี่ยว ของน้ำยม ที่ไหลผ่านช่วงนั้น หัวหน้าหมู่บ้านได้ขยายความข้อนี้ จนกลายเป็น ชื่อเรียกติดปาก ตั้งแต่นั้นมา
จนกระทั่งเมื่อสมเด็จกรมพระยาวชิรญาณวโรรส พระสังฆราชเสด็จหมู่บ้านนี้ เมื่อปี พ.ศ. 2460 ได้ทรงโปรดให้ เปลี่ยนชื่อบ้านจาก หาดเชี่ยว เป็น หาดเสี้ยว และวัดประจำหมู่บ้าน ที่ชื่อวัดโพธิ์ไทร ก็ให้เรียกเป็น วัดหาดเสี้ยว เช่นเดียวกัน ชุมชนหาดเสี้ยว สุโขทัย มีบรรพบุรุษเป็นชาวไทยพวน ที่อพยพมาจาก เมืองพวน แขวงเมืองเชียงขวาง ในประเทศลาว เมื่อรัชกาลที่ 3 ประมาณ ปี พ.ศ. 2387 เป็นหนึ่งในจำนวนไทยพวน ที่อยู่ในประเทศไทย จำนวน 23 จังหวัด ชุมชนหาดเสี้ยว มี 5 เครือข่าย คือ บ้านหาดเสี้ยว บ้านหาดสูง บ้านใหม่ บ้านป่าไผ่ และบ้านแม่ราก
การอพยพ ของบรรพบุรุษพวน บ้านหาดเสี้ยวครั้งนั้น กล่าวกันว่ามีทั้งฝ่ายฆารวาส และฝ่ายสงฆ์ ฝ่ายฆารวาสมีพี่น้องสามแสน คือ แสนจันทร์ แสนปัญญา และ แสนพล เป็นหัวหน้า ฝ่ายสงฆ์มี เจ้าหัวอ้าย สมเด็จวัดบ้านตาดเป็นหัวหน้า คาดว่าเดินทางเข้าประเทศไทยทางจังหวัดน่าน ผ่านจังหวัดแพร่ อุตรดิตถ์ มุ่งสู่เมืองสวรรคโลก เลือกภูมิประเทศ บริเวณบ้านหาดเสี้ยว ลุ่มน้ำยมปลูกสร้างบ้านเรือน สร้างวัด และหาที่ดิน ประกอบอาชีพกสิกรรม ตอนนั้นเจ้าเมืองสวรรคโลก ได้แต่งตั้งแสนจันทร์เป็นผู้ปกครอ งดูแลราษฎรในท้องที่ เก็บภาษีอากร นำส่งรัฐบาลถึงกรุงเทพฯ ใช้เวลาเดินทางทางน้ำ ไปและกลับ เป็นเวลาเดือนเศษ เมื่อแสนจันทร์ถึงแก่กรรม เจ้าเมืองสวรรคโลก ได้แต่งตั้งบุตรชายคนโตของท่าน ชื่อทอง รับบรรดาศักดิ์เป็นหลวงศรีพิทักษ์ ปกครองต่อ จนเป็นต้นสายพันธุ์ สกุลหาดเสี้ยวในปัจจุบัน วิถีชีวิตไทยพวนหาดเสี้ยว ชาวไทยพวน อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย มีอาชีพ ทำนา ทำไร่ ทำสวน เลี้ยงหมู เลี้ยงเป็ด เลี้ยงไก่ เวลาว่างจากการทำนา หญิงทอผ้า ชายตีเหล็ก ผู้เป็นช่างเงิน ช่างทอง ก็ทำเครื่องเงินเครื่องทอง
ที่มา http://www.sisatchanalai.com/webboard/index.php?action=printpage;topic=96.0
ประเพณีบวชช้างหาดเสี้ยว๗ เมษายน ๒๕๕๒
วัดหาดเสี้ยว จ. สุโขทัย ประจำปี ๒๕๕๒
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานสุโขทัย ขอเชิญร่วมงานบุญอุปสมบทในงาน ประเพณีบวชช้างหาดเสี้ยว ประจำปี ๒๕๕๒ ณ วัดหาดเสี้ยว อ. ศรีสัชนาลัย จ. สุโขทัย ในวันที่ ๗ เมษายน ๒๕๕๒
งานประเพณีบวชช้างหาดเสี้ยว เป็นประเพณีของชาวบ้านไทยพวนหาดเสี้ยว ที่อพยพมาจากเมืองเชียงขวางของเมืองเวียงจันทน์ ประเทศลาว และยังคงมีการสืบทอดขนบธรรมเนียมประเพณีมากกว่า ๑๕๐ ปี ชาวหาดเสี้ยวมีความเชื่อเกี่ยวกับพุทธศาสนา คำสั่งสอนของพระพุทธองค์ที่มุ่งให้ผู้บวชถือปฏิบัติตนเพื่อไปสู่โลกอุดร หรือโลกุตรธรรม คือ ธรรมอันพ้นจากวิสัยของโลก ได้แก่ พระนิพพาน จึงมีประเพณีบวชนาคด้วยช้างหาดเสี้ยวขึ้น ในทุกวันที่ ๗ เมษายนของทุกปี และจะนำช้างร่วมขบวนแห่ด้วยเพราะมีความเชื่อจากเรื่องพระเวสสันดรทรงช้างปัจจัยนาเคนทร์ช้างคู่บารมี และยังมีความเชื่อในเรื่องของการดลบันดาลให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล พืชพันธ์ธัญญาหารสมบูรณ์
ขบวนแห่ช้างในปีนี้มีผู้อุปสมบทและช้างเข้าร่วมขบวนแห่มากกว่า ๒๐ เชือก ผู้ที่เข้ามาร่วมงานจะแต่งกายพื้นเมืองที่สวยงามและมารวมกันที่วัดหาดเสี้ยวเพื่อทำพิธี หลังจากนั้นขบวนแห่จะเคลื่อนจากออกวัดหาดเสี้ยว แห่ไปรอบหมู่บ้าน ผ่านแม่น้ำยม ก่อนแยกย้ายกันกลับบ้าน
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เทศบาลตำบลหาดเสี้ยว โทร. ๐-๕๕๖๗-๑๑๒๒การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานสุโขทัย โทร. ๐-๕๕๖๑-๖๒๒๘-๙
ที่มา www.nairobroo.com/76/modules.php?name=News&file=article&sid=1391 - 26k -
ประเพณีแห่ช้างบวชนาค
ชาวตำบลหาดเสี้ยวที่นับถือศาสนาพุทธ มีความเชื่อในเรื่อง อานิสงค์ของการบวช ทั้งการบวชพระ และบวชเณร ดังนั้นครอบครัว ที่มีบุตรหลานเป็นชาย เมื่ออายุครบบวช ก็จะจัดการทำพิธีบวชให้
ผู้บวชที่จะบวชพระได้ ต้องมีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ส่วนเด็กที่จะบวชเณรนั้น บวชได้ตั้งแต่อายุ 10 ปีขึ้นไป ผู้ชายหาดเสี้ยวคนใด ที่มีเหตุจำเป็น ไม่ได้บวชเมื่ออายุครบ หรือแต่งงานก่อนบวช พ่อแม่ก็ต้องพยายามหาโอกาส ให้บวชให้ได้ ในภายหลัง แต่เดิม จะนิยมจัดงานในวันแรม 3 ค่ำ เดือน 4 และบวชในวันแรม 4 ค่ำ เดือน 4
การบวชในปัจจุบัน มีรูปแบบการจัด 2 แบบ คือ
งานบวชธรรมดา ไม่จัดพิธีเอิกเกริก ส่วนใหญ่จะเป็นการบวชพระ ในช่วงก่อนเทศกาลเข้าพรรษา โดยการบอกกล่าว ญาติใกล้ชิด มาร่วมในการทำขวัญ และนำนาคไปวัด เพื่อทำพิธีบวช การบวชแบบนี้ มักจะบวชจนครบพรรษา
บวชหมู่ นิยมบวชกันในเดือนสี่ (ประมาณเดือนเมษายน) ซึ่งเป็นช่วงที่มีวันหยุดหลายวัน ระยะเวลาในการบวชจะมีตั้งแต่ 7 – 15 วัน จนถึงหนึ่งเดือน การบวชในลักษณะนี้ ถือเป็นงานประเพณีประจำปี ของท้องถิ่น นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524 เป็นต้นมา มีการกำหนดเวลาที่แน่นอน ในการจัด โดยถือเอาวันที่ 7 เมษายน ของทุกปีเป็นวันงาน และชาวบ้านเรียกว่า “งานแห่ช้างบวชนาค”
ก่อนวันบวช จะมีกลุ่มผู้หญิงกลุ่มหนึ่ง เป็นตัวแทนของแต่ละเจ้าภาพ ที่จัดงานบวช เดินไปบอกบุญ ตามบ้านใกล้เรือนเคียง เพื่อให้ไปร่วมงานกัน เรียกว่า “เถี่ยวบ๊าน”
งานบวชนี้ จะจัดงานรวมทั้งสิ้น 3 วัน คือ วันสุกดิบ เป็นวันเตรียมตัวของผู้บวช และเจ้าภาพ ในการจัดเตรียม ในเรื่องอาหารไว้เลี้ยงแขก ที่เชิญมาร่วมงาน รวมทั้งอุปกรณ์เครื่องอัฐบริขาร ซึ่งเรียกว่า “เครื่องกองบวช”
วันที่สอง เป็นวันแห่นาค ในวันนี้จะทำพิธี โกนผมนาค อาบน้ำ แต่งตัวนาคจะสวมเสื้อสีสด บางคนใส่เสื้อกำมะหยี่สีเหลือง ที่สาบเสื้อ และปลายแขนประดับด้วยตีนจก นุ่งโจงกระเบนหลากสี เช่น สีเขียว แดง ม่วง ตกแต่งด้วยเครื่องประดับ เช่น สร้อยคอทองคำ เข็มขัดนาค แหวน สวมเทริดที่ตกแต่งด้วยดอกไม้ไว้เหนือศีรษะ แต่งหน้าด้วยเครื่องสำอาง และสวมแว่นตาดำ
ส่วนช้างที่นำมาร่วมขบวน เป็นพาหนะของนาค ก็จะถูกนำไปอาบน้ำที่แม่น้ำยม ตกแต่งด้วยผ้าลาดช้าง และผ้าคลุมหัวช้าง ที่ตกแต่งด้วยผ้าที่จก เป็นลวดลาย บนคอช้าง วางพาดด้วยฝ้ายใจขนาดใหญ่ สีขาว ซึ่งผ้าต่างๆเหล่านี้ ในสมัยก่อน จะทอกันเอง เตรียมไว้แต่เนิ่นๆ
การแห่นาคด้วยขบวนช้างนั้น จะจัดขึ้นในตอนบ่าย โดยที่นาคทุกคน จะมารวมตัวกัน ที่วัดหาดเสี้ยว ก่อนที่จะตั้งขบวนแห่ ไปตามถนนใตลาด และอ้อมผ่านถนนนอกชุมชน แล้วจึงย้ายไปตามบ้านของตน ในตอนค่ำจึงมีพิธีทำขวัญนาค
ตลอดงาน และในขบวนแห่ จะมีแตรวง หรือกลองยาวมาประโคมเฉลิมฉลอง รวมทั้งมีการเต้นรำ อย่างสนุกสนาน โดยแขกที่มาร่วมงานแต่ละบ้าน ซึ่งแต่เดิมในขบวนแห่ จะมีแต่ปี่แต๊ หรือปี่ชวา และกลองรำมะนาเท่านั้น ในตอนกลางคืน ของวันสุกดิบและวันแห่นาค มักจะมีการจ้างมหรสพ มาแสดงฉลองนาคที่บ้าน ของแต่ละคนด้วย
ในวันที่สาม ซึ่งเป็นวันบวชนั้น จะจัดพิธีธรรมดาเป็นการพานาคเดินไปวัดเพื่อทำพิธีขอบวชนาคเช่นเดียวกับการบวชทั่วไป เมื่อขอบวชเรียบร้อยแล้ว ก็ถือเป็นการเสร็จพิธี หลังจากบวชแล้วจะมีคำเรียกผู้ที่บวชเป็นพระว่า “เจ้าหัว”หรือ “หม่อม” เมื่อสึกออกไปแล้ว จะมีคำนำหน้าชื่อว่า “อ้ายทิด” ส่วนสามเณรนั้น จะมีคำนำหน้าเรียกว่า “จั่วอ๊าย” และเมื่อสึกออกไปแล้ว จะมีคำนำหน้าชื่อว่า “เซียง”
ปัจจุบัน ประเพณีนี้ได้กลายเป็น ประเพณีประจำปี ของอำเภอศรีสัชนาลัย ทางราชการ ได้เข้ามามีส่วนร่วม ในการให้การสนับสนุน ด้านงบประมาณจัดงาน ในแต่ละปี เฉลี่ยให้แก่บ้านที่จะจัดงานบวช รายละเท่าๆกัน เริ่มตั้งแต่ ประมาณปี 2529 เป็นต้นมา เป็นโยบาย เพื่ออนุรักษ์ประเพณีพื้นบ้าน และส่งเสริมการท่องเที่ยว ของจังหวัดสุโขทัย
งานบวช จึงเป็นงานประเพณีงานหนึ่ง ที่มีผ้าชนิดต่างๆจำนวนมาก เช่นผ้าโจงกระเบน ผ้าห่อคัมภีร์ ผ้ากราบ ผ้ากั้ง ซึ่งผ้าเหล่านี้ แม่ของผู้บวช หรือคู่รัก จะเป็นผู้ทอเตรียมไว้ก่อน นอกจากนั้น ช้างที่ร่วมขบวน ก็ได้รับการประดับตกแต่ง ด้วยผ้าชนิดต่างๆ และสิ่งสำคัญก็คือ ฝ้ายใจขนาดใหญ่ สีขาว สีแดง ที่แสดงให้เห็นถึง ความสำคัญของฝ้าย ในชุมชน ตำบลหาดเสี้ยว ได้เป็นอย่างดี
ที่มา http://www.suntreethai.com/learning_tradition.php
วันพุธที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2552
วันจันทร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2552
นักวิจัยม.เกษตรฯแจกสูตร ยืดอายุ"ขนมชั้น"เก็บนาน6เดือน
วันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 18 ฉบับที่ 6683 ข่าวสดรายวันนักวิจัยม.เกษตรฯแจกสูตร ยืดอายุ"ขนมชั้น"เก็บนาน6เดือน!
"ขนมไทย" เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของไทย นอกจากนี้ ขนมที่ทำจากแป้งยังมีลักษณะเนื้อสัมผัสที่หลากหลาย ไม่เหมือนขนมต่างประเทศ จากการศึกษาวิจัยของ รศ.ดร.รุ่งนภา พงศ์สวัสดิ์มานิต ภาควิชาพัฒนาผลิตภัณฑ์ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เรื่อง "ผลของไฮโดรคอลลอยด์ต่อสมบัติทางกายภาพและความคงตัวของระบบที่มีแป้งมันสำปะหลังเป็นส่วนประกอบ" ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากฝ่ายวิชาการ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) พบว่า ผลของไฮโดรคอลลอยด์ ซึ่งเป็นสารพอลิแซ็กคาไรด์ที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่ในอาหารมีความสำคัญต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์และกระบวนการในการเพิ่มคุณภาพและการยืดอายุการเก็บไฮโดรคอลลอยด์เป็นสารที่ใช้กันมากในอุตสาห กรรมอาหาร ซึ่งมักเรียกว่า "กัม" (Gum) ทำหน้าที่ให้ความหนืดและ/หรือทำให้เกิดเจลเพื่อปรับเนื้อสัมผัส หรือใช้เป็นสารก่อให้เกิดความคงตัวแก่ผลิตภัณฑ์ต่างๆ ในระหว่างเก็บรักษา จากการศึกษาการแทนที่แป้งมันสำปะหลังบางส่วนด้วยไฮโดรคอลลอยด์ เช่น "แซนแทนกัม" สามารถปรับปรุงให้โมเดลอาหารที่มีแป้งมันสำปะหลังเป็นส่วนประกอบมีความคงตัวทางด้านการแช่แข็งและละลายได้ดีขึ้น ส่วนอัลจีเนตสามารถปรับปรุงความคงตัวทางด้านการแช่แข็งและละลายของแป้งมันสำปะหลังได้ดีเมื่อระบบมี pH 5-7 การเติมอัลจีเนตและแซนแทนกัมมีผลให้โมเดลอาหารที่มีแป้งมันสำปะหลังมีความคงตัวทางด้านความร้อนดีกว่าแป้งสุก สำหรับ "ขนมชั้น" เป็นขนมไทยชนิดหนึ่งที่มักใช้แป้งมันสำ ปะหลังเป็นส่วนผสมหลัก เพื่อให้ขนมมีความเนียน นุ่ม เหนียว และใส โดยทั่วไปขนมชั้นที่เก็บไว้ที่อุณหภูมิห้องมักอยู่ได้เพียง 2-3 วัน และมีเนื้อสัมผัสที่แน่นแข็งขึ้นหลังการผลิตและระหว่างการเก็บ ทำให้เนื้อขนมไม่นุ่มเหมือนเดิม แต่ถ้าต้องการเก็บไว้ทานนานขึ้นมักนำไปแช่เย็นเพื่อยืดอายุการเก็บ แต่วิธีนี้จะเป็นการเร่งลักษณะเนื้อสัมผัสที่แน่นแข็งมากขึ้น ทำให้ผู้บริโภคไม่ยอมรับรศ.ดร.รุ่งนภาจึงพัฒนาผลิตภัณฑ์ขนมชั้นด้วยการเติมสารไฮโดรคอลลอยด์ลงไปในส่วนผสม เช่น โซเดียมอัลจีเนต ไซโลกลูแคน แซนแทนกัม เป็นต้น เมื่อทำขนมชั้นเสร็จแล้วปิดผนึกถาดด้วยแผ่น ฟิล์ม และนำไปแช่แข็งที่อุณหภูมิต่ำกว่า -18 องศาเซลเซียส ในตู้แช่แข็งมากกว่า 1 วัน แล้วนำมาละลายที่อุณหภูมิ 40 องศาเซลเซียส ในตู้ที่ควบคุมอุณหภูมิได้จนละลายหมด และการแช่แข็งแบบช้าในตู้แช่แข็งนานกว่า 1 วัน ก่อนละลายด้วยวิธีเดิม โดยการแช่แข็งและละลายทั้งสิ้นมากกว่า 6 วงจร ขนมชั้นแช่แข็งจะมีความคงตัวต่อวงจรการแช่แข็งและละลายในด้านคุณภาพดีกว่าขนมชั้นทั่วไปที่ไม่มีการ เติมไฮโดรคอลลอยด์ การแช่แข็งเช่นนี้จะทำให้อัตราการเติบโตของจุลินทรีย์และการเสื่อมเนื่องจากกิจกรรมของจุลินทรีย์ลดลงอย่างมาก จึงสามารถเก็บขนมชั้นได้นานกว่า 6 เดือน โดยยังคงความสดและมีรสชาติไม่เปลี่ยนแปลงหากเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสม และเมื่อให้ความร้อนด้วยไมโครเวฟก่อนการบริโภค ก็จะได้ขนมชั้นที่มีคุณภาพใกล้เคียงกับขนมที่ทำสดใหม่ในด้านเนื้อสัมผัสที่เหนียวและยืดหยุ่น ขณะนี้ รศ.ดร.รุ่งนภา กำลังดำเนินการยื่นจดอนุสิทธิบัตรจากกรมทรัพย์สินทางปัญญา หากผู้ใดสนใจสูตรขนมชั้นและวิธีการทำ สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่หมายเลข 0-2562-5008หน้า 28
ที่มาhttp://www.matichon.co.th/khaosod/view_news.php?newsid=TUROMFpXTXdNakUzTURNMU1nPT0=§ionid=TURNeU5nPT0=&day=TWpBd09TMHdNeTB4Tnc9PQ==
ใบผักหวานบ้าน
วันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 18 ฉบับที่ 6683
ข่าวสดรายวันผักหวานรู้ไปโม้ดnachart@yahoo.com
(ซ้าย) ใบผักหวานบ้าน (ขวา)
ใบผักหวานป่าผักหวานสวัสดีค่ะน้าชาติ อยากถามเรื่องผักหวาน มีประโยชน์ยังไง แล้วต้นเป็นอย่างไร เล็กหรือใหญ่ ปลูกในบ้านได้ไหมคะงามพร้อมตอบ งามพร้อมไม้ที่ยืนต้นเองในป่า เกิดขึ้นตามธรรมชาติ กับไม้ปลูกเป็นผักสวนครัวรั้วกินได้ในบ้าน คือ "ผักหวาน" ทั้งคู่ อย่างแรกเรียก "ผักหวานป่า" (OPILLACEAE: Melientha Suavis Pierre) เป็นผักยอด จากไม้ต้นที่เกิดทั่วไปในป่า มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตอนใต้ พบมากในอินเดีย พม่า ไทย ลาว เวียดนาม และเขมร ชอบขึ้นตามป่าแห้งแล้ง ที่ราบสูงและเนินเขา ไม่ค่อยพบในพื้นที่น้ำท่วมถึง ในประเทศไทยพบมากในภาคเหนือ ภาคอีสาน ขึ้นอยู่ตามป่าชายเขา หรือป่าละเมาะ ทนต่อความแห้งแล้งได้ดี แต่อัตราการเจริญเติบโตช้ามาก จัดเป็นไม้ขนาดใหญ่มียอดใบอ่อนสีเขียวมัน ก้านกรอบนุ่ม ให้กินหวานอร่อยช่วงต้นฤดูร้อนถึงต้นฤดูฝน คือระหว่างปลายเดือนกุมภาพันธ์ถึงพฤษภาคม กิ่งอ่อนที่เพิ่งจะแทงยอดออกมาเต็มไปด้วยใบอ่อนดกแน่น นิยมฟันลงมาทั้งกิ่งใหญ่ แล้วจึงตัดเฉพาะกิ่งอ่อนมัดกำเอาไว้เพื่อนำไปขาย ผักหวานเหี่ยวง่าย ดังนั้นจึงต้องห่อด้วยใบตองกล้วย และพรมน้ำให้ชื้นอยู่ตลอดเวลาอีกต้นเรียก "ผักหวานบ้าน" (EUPHORBIACEAE: Sauropus abicans) เป็นไม้พุ่มเตี้ย รับประทานยอดอ่อนเช่นกัน มีชื่อเรียกอื่นๆ เช่น มะยมป่า ผักหวานใต้ใบ เป็นต้น ลักษณะคล้ายใบมะยม แต่มีนวลขาวๆ บนหน้าใบ ยิ่งตัดหรือเด็ดมากจะติดยอดมาก โดยเฉพาะช่วงฤดูฝน ผักหวานทั้ง 2 ชนิดมีความแตกต่างกันเหมือนตะแบกกับอินทนิลยังมีผักป่าหน้าตาเหมือนผักหวานอีกชนิด เรียกผักหวานเมา มีฤทธิ์ทำให้เมาได้ อีกชื่อเรียกว่า ผักเสน คนลำปางเรียก แกก้อง หรือนางแย้ม เชียงใหม่เรียก นางจุม จันทบุรีเรียก ผักหวานเขา กาญจนบุรีและชลบุรีเรียก ผักหวานดง สระบุรีเรียก ผักหวานเมา หรือช้าผักหวาน ส่วนทางประจวบคีรีขันธ์เรียก ดีหมี และเพราะหน้าตาเหมือนกันมากกับผักหวานป่า จึงอาจเก็บมาผิดได้ ชาวบ้านจึงใช้วิธีแก้ง่ายๆ คือขณะต้มน้ำแล้วผักหวานยังไม่เดือด ให้กำข้าวสารโยนใส่หม้อแกงด้วย แก้ฤทธิ์เมาของผักหวานเมาได้โดยทั่วไปยอดผักหวานที่วางขายในท้องตลาดส่วนมากเป็นยอดผักหวานจากป่า แต่ในสภาวะปัจจุบันผักหวานป่าที่มีอยู่ในธรรมชาติไม่มีเพียงพอต่อการบริโภคของประชาชนทั่วไป และมักประสบปัญหาการแก่งแย่ง ได้บ้าง ไม่ได้บ้าง ไม่มีความแน่นอน อย่างไรก็ตามขณะนี้มีเกษตรกรชาวสวนจังหวัดลำพูนทำสวนผักหวานสำเร็จ โดยมีผักหวานปลูกในสวนประมาณ 3,000 ต้น ขายยอดผักหวานที่สวนกิโลกรัมละ 200 บาท นับเป็นพืชเศรษฐกิจที่ตลาดต้องการมากผักหวานนิยมกินหลายรูปแบบ คือต้มหรือนึ่งจิ้มน้ำพริก หรือแกงกับไข่มดแดง โดยเฉพาะทางอีสานที่ผักหวานเบ่งบานในเวลาเดียวกับไข่มดแดงกำลังเต่งไข่ใบใหญ่ เมื่อชาวบ้านหาผักหวานในป่าก็มักสอยเอาไข่มดแดงด้วยในเวลาเดียวกัน รวมถึงแกงใส่ปลาย่างผสมใบชะอม ทำเป็นแกงอ่อมก็อร่อยดี หรืออย่างทางเหนือที่นิยมแกงผักหวานใส่ปลาย่างกับวุ้นเส้น กับงบผักหวานใส่ไข่มดแดง ขณะที่คนเมืองปัจจุบันเอาผักหวานไปผัดกับน้ำมันร้อนๆ กินอร่อยเช่นกันคุณค่าอาหารของผักหวานป่านอกจากรสชาติดี ไม่มีสารพิษตกค้าง จัดเป็นผักที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงทีเดียว โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านแหล่งโปรตีน วิตามินซี และพลังงาน ทั้งยังมีปริมาณเยื่อใยพอสมควร ช่วยการขับถ่ายให้ดีขึ้น โดยในยอดและใบสดที่รับประทานได้ 100 กรัม ประกอบด้วยน้ำ 76.6 กรัม โปรตีน 8.2 กรัม คาร์โบไฮเดรต 10 กรัม เยื่อใย 3.4 กรัม เถ้า 1.8 กรัม แคโรทีน 1.6 ม.ก. วิตามินซี 115 ม.ก. และค่าพลังงาน 300 กิโลจูล (KJ)ส่วนคุณค่าด้านสมุนไพร แพทย์พื้นบ้านใช้รากผักหวานป่าเป็นยาระงับความร้อน ถอนพิษไข้ ไข้กลับ และยังมีสรรพคุณแก้น้ำดีพิการ แก้ตาเชื่อมมัวหน้า 30
ที่มา http://www.matichon.co.th/khaosod/view_news.php?newsid=TURONWIzVXdNakUzTURNMU1nPT0=§ionid=TURNeE1RPT0=&day=TWpBd09TMHdNeTB4Tnc9PQ==
ที่มา http://www.matichon.co.th/khaosod/view_news.php?newsid=TURONWIzVXdNakUzTURNMU1nPT0=§ionid=TURNeE1RPT0=&day=TWpBd09TMHdNeTB4Tnc9PQ==
วันศุกร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552
ได้ฤกษ์มัธยมฯมีเขตพื้นที่เป็นของตัวเอง
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รมว.ศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการสภาการศึกษา (กกศ.) วันที่ 5 ก.พ. ว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้แยกเขตพื้นที่การศึกษาระหว่างประถมศึกษา และมัธยมศึกษา ตามที่คณะอนุกรรมการสภาการศึกษาด้านการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการจัดตั้งเขตพื้นที่การศึกษาการมัธยมศึกษาเสนอ โดยให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ไปพิจารณากำหนดเขตพื้นที่ฯการมัธยมศึกษาตามความเหมาะสม โดยยึดการแบ่งเขตพื้นที่ฯมัธยมศึกษาภายใต้กรอบ 18 กลุ่มจังหวัดตามระเบียบบริหารราชการแผ่นดินเป็นหลัก และพิจารณา ถึงความคล่องตัวในทางปฏิบัติงาน และสามารถจัดการมัธยมศึกษาได้อย่างมีคุณภาพด้วย รมว.ศธ. กล่าวต่อไปว่า สำหรับขั้นตอนการดำเนินการนั้นจะต้องมีการแก้ไขกฎหมายอย่างน้อย 3 ฉบับ ได้แก่ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ และพ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยมอบหมายให้ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) ไปยกร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้แล้วเสร็จภายใน 2 สัปดาห์ เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต่อไป ด้าน คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวว่า เมื่อแยกเขตพื้นที่ประถมฯ และมัธยมฯ แล้วจะต้องมีการแยกการบริหารงานออกมาจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา(สพท.) โดยจะมีคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (อ.ก.ค.ศ.) ที่ดูแลการบริหารงานบุคคลแยกออกมาจากสพท.ด้วย โดยโรงเรียนมัธยมฯจะมาอยู่ในเขตพื้นที่ฯการมัธยมศึกษา ส่วนโรงเรียนขยายโอกาสฯที่เปิดสอนถึงม.ต้น จะสังกัด สพท.ตามเดิม ทั้งนี้ สพฐ.จะเร่งจัดทำรายละเอียดและกำหนดเขตพื้นที่ฯการมัธยมศึกษาให้แล้วเสร็จ และนำเสนอ รมว.ศธ.ในสัปดาห์หน้า นายวิทธยา บริบูรณ์ทรัพย์ นายกสมาคมผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งประเทศไทย (สบมท.) กล่าวว่า รู้สึกพอใจผลการประชุมในระดับหนึ่ง เพราะตรงกับข้อเสนอที่ 3 ของ สบมท.ที่ให้แบ่งเขตพื้นที่ฯมัธยมฯเป็น 49 เขต โดยเป็นเขตที่มีจังหวัดเดียว 27 เขต เขตที่รวม 2 จังหวัดเข้าด้วยกันมี 17 เขต และ เขตที่รวม 3 จังหวัดเข้าด้วยกันมี 5 เขต ซึ่งจะมีการพิจารณาจัดกลุ่มอีกครั้ง เพื่อให้อยู่ภายใต้กรอบ 18 กลุ่มจังหวัดฯตามมติกกศ.ต่อไป. |
10 วิธีการกินอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี | ||
|
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
1. ตัวอย่างการวิเตราะห์หลักสูตรก่อนตัวอย่างการทำวิจัยชั้นเรียน...
เพื่อเป็นแนวทางในการทำผลงานและการเยีนวยา....การเตรียมตัวเพื่อทำผลงานทางวิชาการ
ทุกท่านที่จะทำผลงานทางวิชาการต้องมีการเตรียมพร้อมดังนี้ครับ....คู่มือการเรียนรู้ 8 กลุ่มสาระ
จะเตรียมตัวทำผลงาน ต้องมีการวิเคราะห์หลักสูตร และจำเป็นต้องใช้ข้อมูลเหล่านี้ครับ....
เขียนแผนการจัดการเรียนรู้
ตัวอย่างงานที่ผ่านการตรวจ
2. ตัวอย่าง แผนการจัดการเรียนรู้
3. ตัวอย่าง บันทึกผลหลังสอน
3.1 ตัวอย่างแผน STAD
3.2 ตัวอย่างแผน CIPPA
3.3 ตัวอย่างแผน Backwards
++จะค่อยนำขึ้นเรื่อยๆครับ++
4. วิธีเขียน /ตัวอย่างรายงานบทที 1
5. วิธีเขียน /ตัวอย่างรายงาน บทที่ 2
6. วิธีเขียน /ตัวอย่างรายงาน บทที่ 3
7. วิธีเขียน /ตัวอย่างรายงาน บทที่ 4
8. วิธีเขียน /ตัวอย่างรายงาน บทที่ 5
9. ตัวอย่าง การเขียนบทคัดย่อ
10.ตัวอย่าง การเขียนบรรณานุกรม
10.1 การจัดเรียงภาคผนวก
10.2 แบบประเมินของผู้เชี่ยวชาญ
11. ตัวอย่าง การเขียน วฐ.2/1
12. ตัวอย่างนวัตกรรม
12.1 ตัวอย่าง บทเรียนสำเร็จรูป
12.2 ตัวอย่าง วีดิทัศน์
12.3 ตัวอย่าง วีดิทัศน์พระพุทธ
12.4 ตัวอย่าง เอกสารประกอบ
12.5 ตัวอย่างเอกสารประกอบใน
รูปแบบ Powerpoint
13. การหาค่าของคะแนนแบบง่าย
14. ตัวอย่างคู่มือการใช้เแบบฝึกฯ
15. การใช้ Font สำหรับนวัตกรรม