วันศุกร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

ได้ฤกษ์มัธยมฯมีเขตพื้นที่เป็นของตัวเอง
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รมว.ศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการสภาการศึกษา (กกศ.) วันที่ 5 ก.พ. ว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้แยกเขตพื้นที่การศึกษาระหว่างประถมศึกษา และมัธยมศึกษา ตามที่คณะอนุกรรมการสภาการศึกษาด้านการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการจัดตั้งเขตพื้นที่การศึกษาการมัธยมศึกษาเสนอ โดยให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ไปพิจารณากำหนดเขตพื้นที่ฯการมัธยมศึกษาตามความเหมาะสม โดยยึดการแบ่งเขตพื้นที่ฯมัธยมศึกษาภายใต้กรอบ 18 กลุ่มจังหวัดตามระเบียบบริหารราชการแผ่นดินเป็นหลัก และพิจารณา   ถึงความคล่องตัวในทางปฏิบัติงาน และสามารถจัดการมัธยมศึกษาได้อย่างมีคุณภาพด้วย
 
รมว.ศธ. กล่าวต่อไปว่า สำหรับขั้นตอนการดำเนินการนั้นจะต้องมีการแก้ไขกฎหมายอย่างน้อย 3 ฉบับ ได้แก่ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ และพ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยมอบหมายให้ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) ไปยกร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้แล้วเสร็จภายใน 2 สัปดาห์ เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต่อไป  
 
ด้าน คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวว่า เมื่อแยกเขตพื้นที่ประถมฯ และมัธยมฯ แล้วจะต้องมีการแยกการบริหารงานออกมาจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา(สพท.) โดยจะมีคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (อ.ก.ค.ศ.)        ที่ดูแลการบริหารงานบุคคลแยกออกมาจากสพท.ด้วย โดยโรงเรียนมัธยมฯจะมาอยู่ในเขตพื้นที่ฯการมัธยมศึกษา ส่วนโรงเรียนขยายโอกาสฯที่เปิดสอนถึงม.ต้น จะสังกัด สพท.ตามเดิม ทั้งนี้ สพฐ.จะเร่งจัดทำรายละเอียดและกำหนดเขตพื้นที่ฯการมัธยมศึกษาให้แล้วเสร็จ และนำเสนอ รมว.ศธ.ในสัปดาห์หน้า 
 
นายวิทธยา บริบูรณ์ทรัพย์ นายกสมาคมผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งประเทศไทย (สบมท.) กล่าวว่า รู้สึกพอใจผลการประชุมในระดับหนึ่ง เพราะตรงกับข้อเสนอที่ 3 ของ สบมท.ที่ให้แบ่งเขตพื้นที่ฯมัธยมฯเป็น 49 เขต โดยเป็นเขตที่มีจังหวัดเดียว 27 เขต เขตที่รวม 2 จังหวัดเข้าด้วยกันมี 17 เขต และ เขตที่รวม 3 จังหวัดเข้าด้วยกันมี 5 เขต ซึ่งจะมีการพิจารณาจัดกลุ่มอีกครั้ง เพื่อให้อยู่ภายใต้กรอบ 18 กลุ่มจังหวัดฯตามมติกกศ.ต่อไป.
 10 วิธีการกินอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี

     ในแต่ละวันเราจำเป็นต้องรับประทานอาหารมากมาย มีคำแนะนำจากหลายสำนักให้กินนั่น ห้ามกินนี่จนไม่รู้จะเชื่อใครดี วันนี้เราจึงมีเคล็ดลับง่ายๆ ของการกินให้ได้ประโยชน์สูงสุดต่อสุขภาพอย่างเต็มที่มาฝาก

1. กินอาหารเช้า เป็นพฤติกรรมพื้นฐานที่ส่งผลต่อจิตใจ และพลังชีวิตของคุณไปตลอดทั้งวัน และช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเส้นเลือด ลดอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ ช่วยเผาผลาญพลังงานให้ดีขึ้น ทำให้คุณกินอาหารในมื้ออื่นๆ น้อยลง

2. เปลี่ยนน้ำมันที่ใช้ปรุงอาหาร ยอมจ่ายแพงสักนิดใช้น้ำมันมะกอก หรือน้ำมันดอกทานตะวัน ปรุงอาหารแทนน้ำมันแบบเดิมที่เคยใช้ เพราะเป็นไขมันที่ไม่เป็นโทษต่อร่างกาย และมีกรดไขมันอิ่มตัวที่เป็นประโยชน์ ช่วยลดไขมันในเส้นเลือดได้เป็นอย่างดี

3. ดื่มน้ำให้มากขึ้น คนเราควรดื่มน้ำวันละ 2 ลิตรเป็นอย่างน้อย (ยกเว้นในรายที่ไตทำงานผิดปกติ) เพื่อหล่อเลี้ยงเซลล์ในร่างกาย ฟื้นฟูระบบขับถ่าย รักษาระดับความเข้มข้นของเลือด จะทำให้สดชื่นตลอดวันเลยทีเดียว

4. เสริมสร้างแคลเซียมให้กับกระดูก ด้วยการดื่มนม กินปลาตัวเล็กทั้งตัวทั้งก้าง เต้าหู้ ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง ผักใบเขียว เพราะแคลเซียมเป็นสิ่งจำเป็นที่จะเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อและกระดูก ทำให้ระบบประสาททำงานได้เต็มประสิทธิภาพ

5. บอกลาขนมและของกินจุบจิบ ตัดของโปรดประเภทโดนัท คุกกี้ เค้กหน้าครีมหนานุ่ม ออกจากชีวิตบ้าง แล้วหันมากินผลไม้เป็นของว่างแทน วิตามิน และกากใยในผลไม้ มีประโยชน์กว่าไขมัน และน้ำตาลจากขนมหวานเป็นไหนๆ

6. สร้างความคุ้นเคยกับการกินธัญพืชและข้าวกล้อง เมล็ดทานตะวัน ข้าวฟ่างและลูกเดือย รวมทั้งข้าวกล้องที่เคยคิดว่าเป็นอาหารนก ได้มีการศึกษาและค้นคว้าแล้ว พบว่า ช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจถึง 1 ใน 3 เลยทีเดียว เพราะอุดมไปด้วยไฟเบอร์ ที่ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล และควบคุมน้ำตาลในเลือดให้สมดุล

7. จัดน้ำชาให้ตัวเอง ทั้งชาดำ ชาเขียว ชาอู่ล่ง หรือเอิร์ลเกรย์ ล้วนแล้วแต่มีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ การดื่มชาวันละ 1 ถึง 3 แก้ว ช่วยลดอัตราเสี่ยงมะเร็งกระเพาะอาหารถึง 30%

8. กินให้ครบทุกสิ่งที่ธรรมชาติมี คุณต้องพยายามรับประทานผักผลไม้ต่างๆ ให้หลากสี เป็นต้นว่า สีแดงมะเขือเทศ สีม่วงองุ่น สีเขียวบล็อกเคอรี สีส้มแครอท อย่ายึดติดอยู่กับการกินอะไรเพียงอย่างเดียว เพราะพืชต่างสีกัน มีสารอาหารต่างชนิดกัน แถมยังเป็นการเพิ่มสีสันการกินให้กับคุณด้วย

9. เปลี่ยนตัวเองให้เป็นคนรักปลา การกินปลาอย่างน้อยอาทิตย์ละครั้ง ได้ทั้งความฉลาดและแข็งแรง เพราะปลามีกรดไขมันโอเมก้า 3 และโปรตีน ที่ช่วยควบคุมการเต้นของหัวใจให้เป็นปกติ และบำรุงเซลล์สมอง ทั้งยังมีไขมันน้อย อร่อย ย่อยง่าย เหมาะสำหรับคนที่ต้องการหุ่นเพรียวลมเป็นที่สุด

10. กินถั่วให้เป็นนิสัย ทำให้ถั่วเป็นส่วนหนึ่งของอาหารที่คุณต้องกินทุกวัน วันละสัก 2 ช้อน ไม่ว่าจะเป็นของหวานของคาว หรือว่าของว่างก็ทั้งโปรตีน วิตามิน และแร่ธาตุสำคัญๆ หลายชนิด ต่างพากันไปชุมนุมอยู่ในถั่วเหล่านี้ ควรกินถั่วอย่างสม่ำเสมอ แต่ไม่ควรกินครั้งละมากๆ เพราะมีแคลอรี่สูง อาจทำให้อ้วนได้

   ถ้าปฏิบัติให้ได้ครบทุกข้อตามคำแนะนำข้างต้นนี้จนเป็นนิสัย สุขภาพดีๆ จะไปไหนเสีย !!

 

ที่มา : ผู้จัดการออนไลน์ 7 กรกฎาคม 2551 11:11 น. http://www.manager.co.th/MetroLife/ViewNews.aspx?NewsID=9510000079603

ตัวอย่างการทำวิจัยชั้นเรียน...
เพื่อเป็นแนวทางในการทำผลงานและการเยีนวยา....
การเตรียมตัวเพื่อทำผลงานทางวิชาการ
ทุกท่านที่จะทำผลงานทางวิชาการต้องมีการเตรียมพร้อมดังนี้ครับ....
คู่มือการเรียนรู้ 8 กลุ่มสาระ
จะเตรียมตัวทำผลงาน ต้องมีการวิเคราะห์หลักสูตร และจำเป็นต้องใช้ข้อมูลเหล่านี้ครับ....
1. ัวอย่างารวิเตราะห์หลักสูตรก่อน
เขียนแผนการจัดการเรียนรู้

ตัวอย่างงานที่ผ่านการตรวจ

2. ตัวอย่าง แผนการจัดการเรียนรู้
3. 
ตัวอย่าง บันทึกผลหลังสอน

  
3.1  ตัวอย่างแผน STAD 
  3.2  ตัวอย่างแผน CIPPA 
  
3.3  ตัวอย่างแผน Backwards
++
จะค่อยนำขึ้นเรื่อยๆครับ++
4. วิธีเขียน /ตัวอย่างรายงานบทที 1

5. วิธีเขียน /
ตัวอย่างรายงาน บทที่ 2

6. วิธีเขียน /ตัวอย่างรายงาน บทที่ 3

7. วิธีเขียน /ตัวอย่างรายงาน บทที่ 4

8.  วิธีเขียน /ตัวอย่างรายงาน บทที่ 5
9.  
ตัวอย่าง การเขียนบทคัดย่อ

10.ตัวอย่าง การเขียนบรรณานุกรม

10.1 การจัดเรียงภาคผนวก     
10.2 แบบประเมินของผู้เชี่ยวชาญ
11. ตัวอย่าง การเขียน วฐ.2/1

12. ตัวอย่างนวัตกรรม
     12.1 ตัวอย่าง  บทเรียนสำเร็จรูป 
     
12.2 ตัวอย่าง วีดิทัศน์
 
12.3 ตัวอย่าง วีดิทัศน์พระพุทธ
     12.4 ตัวอย่าง เอกสารประกอบ
     
12.5 ตัวอย่างเอกสารประกอบใน
             รูปแบบ Powerpoint
 
13. การหาค่าของคะแนนแบบง่าย
 
14. ตัวอย่างคู่มือการใช้เแบบฝึกฯ
 15.  การใช้ Font สำหรับนวัตกรรม