วันศุกร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

ได้ฤกษ์มัธยมฯมีเขตพื้นที่เป็นของตัวเอง
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รมว.ศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการสภาการศึกษา (กกศ.) วันที่ 5 ก.พ. ว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้แยกเขตพื้นที่การศึกษาระหว่างประถมศึกษา และมัธยมศึกษา ตามที่คณะอนุกรรมการสภาการศึกษาด้านการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการจัดตั้งเขตพื้นที่การศึกษาการมัธยมศึกษาเสนอ โดยให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ไปพิจารณากำหนดเขตพื้นที่ฯการมัธยมศึกษาตามความเหมาะสม โดยยึดการแบ่งเขตพื้นที่ฯมัธยมศึกษาภายใต้กรอบ 18 กลุ่มจังหวัดตามระเบียบบริหารราชการแผ่นดินเป็นหลัก และพิจารณา   ถึงความคล่องตัวในทางปฏิบัติงาน และสามารถจัดการมัธยมศึกษาได้อย่างมีคุณภาพด้วย
 
รมว.ศธ. กล่าวต่อไปว่า สำหรับขั้นตอนการดำเนินการนั้นจะต้องมีการแก้ไขกฎหมายอย่างน้อย 3 ฉบับ ได้แก่ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ และพ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยมอบหมายให้ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) ไปยกร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้แล้วเสร็จภายใน 2 สัปดาห์ เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต่อไป  
 
ด้าน คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวว่า เมื่อแยกเขตพื้นที่ประถมฯ และมัธยมฯ แล้วจะต้องมีการแยกการบริหารงานออกมาจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา(สพท.) โดยจะมีคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (อ.ก.ค.ศ.)        ที่ดูแลการบริหารงานบุคคลแยกออกมาจากสพท.ด้วย โดยโรงเรียนมัธยมฯจะมาอยู่ในเขตพื้นที่ฯการมัธยมศึกษา ส่วนโรงเรียนขยายโอกาสฯที่เปิดสอนถึงม.ต้น จะสังกัด สพท.ตามเดิม ทั้งนี้ สพฐ.จะเร่งจัดทำรายละเอียดและกำหนดเขตพื้นที่ฯการมัธยมศึกษาให้แล้วเสร็จ และนำเสนอ รมว.ศธ.ในสัปดาห์หน้า 
 
นายวิทธยา บริบูรณ์ทรัพย์ นายกสมาคมผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งประเทศไทย (สบมท.) กล่าวว่า รู้สึกพอใจผลการประชุมในระดับหนึ่ง เพราะตรงกับข้อเสนอที่ 3 ของ สบมท.ที่ให้แบ่งเขตพื้นที่ฯมัธยมฯเป็น 49 เขต โดยเป็นเขตที่มีจังหวัดเดียว 27 เขต เขตที่รวม 2 จังหวัดเข้าด้วยกันมี 17 เขต และ เขตที่รวม 3 จังหวัดเข้าด้วยกันมี 5 เขต ซึ่งจะมีการพิจารณาจัดกลุ่มอีกครั้ง เพื่อให้อยู่ภายใต้กรอบ 18 กลุ่มจังหวัดฯตามมติกกศ.ต่อไป.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ตัวอย่างการทำวิจัยชั้นเรียน...
เพื่อเป็นแนวทางในการทำผลงานและการเยีนวยา....
การเตรียมตัวเพื่อทำผลงานทางวิชาการ
ทุกท่านที่จะทำผลงานทางวิชาการต้องมีการเตรียมพร้อมดังนี้ครับ....
คู่มือการเรียนรู้ 8 กลุ่มสาระ
จะเตรียมตัวทำผลงาน ต้องมีการวิเคราะห์หลักสูตร และจำเป็นต้องใช้ข้อมูลเหล่านี้ครับ....
1. ัวอย่างารวิเตราะห์หลักสูตรก่อน
เขียนแผนการจัดการเรียนรู้

ตัวอย่างงานที่ผ่านการตรวจ

2. ตัวอย่าง แผนการจัดการเรียนรู้
3. 
ตัวอย่าง บันทึกผลหลังสอน

  
3.1  ตัวอย่างแผน STAD 
  3.2  ตัวอย่างแผน CIPPA 
  
3.3  ตัวอย่างแผน Backwards
++
จะค่อยนำขึ้นเรื่อยๆครับ++
4. วิธีเขียน /ตัวอย่างรายงานบทที 1

5. วิธีเขียน /
ตัวอย่างรายงาน บทที่ 2

6. วิธีเขียน /ตัวอย่างรายงาน บทที่ 3

7. วิธีเขียน /ตัวอย่างรายงาน บทที่ 4

8.  วิธีเขียน /ตัวอย่างรายงาน บทที่ 5
9.  
ตัวอย่าง การเขียนบทคัดย่อ

10.ตัวอย่าง การเขียนบรรณานุกรม

10.1 การจัดเรียงภาคผนวก     
10.2 แบบประเมินของผู้เชี่ยวชาญ
11. ตัวอย่าง การเขียน วฐ.2/1

12. ตัวอย่างนวัตกรรม
     12.1 ตัวอย่าง  บทเรียนสำเร็จรูป 
     
12.2 ตัวอย่าง วีดิทัศน์
 
12.3 ตัวอย่าง วีดิทัศน์พระพุทธ
     12.4 ตัวอย่าง เอกสารประกอบ
     
12.5 ตัวอย่างเอกสารประกอบใน
             รูปแบบ Powerpoint
 
13. การหาค่าของคะแนนแบบง่าย
 
14. ตัวอย่างคู่มือการใช้เแบบฝึกฯ
 15.  การใช้ Font สำหรับนวัตกรรม